วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

:: ปัญหาความอ้วน

"โรคอ้วน"
โรคอ้วนเป็นโรคเรื้อรังที่บั่นทอนสุขภาพทั้งกายและใจ รวมทั้งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคต่างๆ มากมาย ได้แก่ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคข้อเสื่อม และ ปัญหาทางจิตใจ โรค อ้วน เกิดตั้งแต่ในวัยเด็ก ควรป้องกันโรคนี้ตั้งแต่ในวัยเด็ก และต้องรักษาตั้งแต่เพิ่มเริ่มอ้วน มิฉะนั้นจะกลายเป็นโรคเรื้อรัง รุนแรง รักษายาก มีอันตรายต่อชีวิต



สาเหตุของโรคอ้วน
ส่วนมากมีสาเหตุจากพฤติกรรม คือ กินมากไป หรือ ออกกำลังกายน้อยไป หรือทั้งสองอย่าง พันธุกรรมอาจมีส่วนทำให้อ้วนได้ ส่วนโรคอ้วนที่มีสาเหตุจากโรคบางอย่าง เช่นโรคไทรอยด์ โรคเนื้องอกในสมอง นั้นพบได้น้อย
การที่จะบอกว่าเด็ก เป็นโรคอ้วนหรือไม่ สามารถประเมินจาก การวัดน้ำหนักต่อส่วนสูง เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของ น้ำหนักของเด็กเพศเดียวกันที่มีส่วนสูงเท่ากัน , การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ที่คำนวณจาก น้ำหนักเป็นกิโลกรัมของเด็ก หารด้วย ส่วนสูงของเด็กเป็นเมตร2 ถ้ามากกว่าเปอร์เซนไทล์ ที่ 95 ถือว่าอ้วน

วิธีการรักษาโรคอ้วน ที่ปลอดภัย มี 3 ประการที่ควรใช้ร่วมกันคือ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ส่วนการใช้ยาและการผ่าตัด มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
1. การควบคุมอาหาร
- กินอาหารครบทุกหมู่ตามธงโภชนาการ แต่ลดอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและไขมันมาก คือ ข้าว แป้ง น้ำตาล ไขมัน เนย กะทิ ถั่วที่ให้ไขมันมาก เช่น ถั่วลิสง ไม่กินอาหารหวาน และเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันและหนัง ควรดื่มนม พร่องมันเนย หรือ นมไขมันต่ำรสจืด แทนนมวัวครบส่วน ดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำหวาน หรือน้ำอัดลม
- เพื่อให้ได้ใยอาหารมากขึ้น ควรกินข้าวกล้อง แทนข้าวขาว กินผักเป็นประจำทุกมือ กินผลไม้ที่ไม่หวานจัดแทนขนม
- กินอาหารมื้อหลัก 3 มื้อ อาหารว่าง 1-2 มื้อ ห้ามอดอาหารมื้อหลัก เพราะจะทำให้หิวจัดในมื้อถัดไป
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือมาก
2. การออกกำลังกาย
ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 ครั้งควรลดเวลาที่นั่งๆนอนๆ อยู่หน้าจอ เช่น การดูโทรทัศน์หรือเล่นคอมพิวเตอร์เหลือไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง
3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เป็นการร่วมมือกันระหว่างผู้ปกครอง , ผู้รักษา และตัวเด็ก มีหลักการดังนี้
- ลดปัจจัยที่กระตุ้นให้เด็กอยากกิน เช่น อาหารที่ล่อใจเด็ก , การนั่งโทรทัศน์พร้อมกับกินขนม
- การให้ความรู้ทางโภชนาการที่ถูกต้องกับเด็กและผู้ปกครอง
- ผู้ปกครองควรปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับวัยรุ่น
- ผู้ปกครองควร มีการกระตุ้นให้เด็กอยากลดน้ำหนักเช่น การให้ของรางวัล

ควรลดน้ำหนัก สัปดาห์ละ ไม่เกิน 0.5 กิโลกรัม ไม่ควรลดเร็วเกินไปเพราะจะเกิดอันตรายได้

:: เรื่อง "สิวๆ"

สิว (Acne)
สิวเป็นเรื่องของธรรมชาติที่พบบ่อยทุกเพศทุกวัย แต่สิวมักพบได้บ่อยในช่วงวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจ เกิดจากการอุดตันของต่อมไขมันกลายเป็นหัวสิว พันธุกรรมมีส่วนกำหนดความรุนแรงของสิวในแต่ละคน ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นสิว ได้แก่ รอบเดือนและความเครียด ปัจจัยภายนอก เช่น แสงแดด ฝุ่น ความร้อน


การรักษาสิว ต้องใช้เวลาพอสมควร อาจเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยาทาหรือ ยา รับประทานเอง เพราะมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงรุนแรง และ ทำให้ผิวแพ้ ระคายเคืองง่าย
ยารักษาสิว
1. การรักษาทั่วไป

- การดูแลผิวทั่วไป ควรล้างทำความสะอาดผิวหน้า วันละ 2-3 ครั้ง
- ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ควรเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่อ่อนโยน ไม่ระคายเคืองต่อผิวสบู่ยาที่มีส่วนผสมของยาต้านแบคทีเรีย
- การใช้เครื่องสำอางแต่งหน้า ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดสิว โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์ที่เป็นโลชั่น หรือ oil
based ก่อให้เกิดสิว มากกว่าผลิตภัณฑ์ที่เป็นเจล แป้งฝุ่นก่อให้เกิดสิวน้อยกว่าแป้งชนิดอัดแข็ง หรือแป้งผสมรองพื้น
2. ยารักษาสิว
2.1 ยาทาเฉพาะที่ การใช้ยาทาเพียงอย่างเดียว ใช้ในรายที่เป็นไม่รุนแรงนัก ยาทาที่ใช้ได้แก่
- ยาทาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุของสิวอักเสบ เช่น clindamycin,erythromycin , tetracycline ใช้ได้ผลดีกับสิวชนิดที่มีตุ่มอักเสบ
หรือตุ่มหนองที่เป็นไม่มากนัก
- ยาทา ต้านแบคทีเรีย (Benzoyl peroxide) ใช้ในสิวที่เป็นน้อยหรือปานกลางที่มีตุ่มอักเสบหรือตุ่มหนอง
- กรดวิตามินเอ (Retinoic acid) ใช้ในสิวที่เป็นมาก แต่ไม่มีการอักเสบ ยาตัวนี้จะทำให้หัวสิวหลุดง่ายขึ้น

2.2 ยากิน ใช้ในกรณีที่ทายาแล้วไม่ได้ผล
- ยาแก้อักเสบ เช่น เตตราซัยคลิน นิยมใช้ร่วมกับยากิน
- อนุพันธ์ของวิตามินเอ (Isoretinoin) ใช้รักษาสิวชนิดรุนแรงเช่นสิวหัวช้าง ยาตัวนี้ สามารถสั่งโดยแพทย์เท่านั้น ผลข้างเคียงที่สำคัญมากคือ
ทำให้เกิดความพิการของทารกในครรภ์ได้

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

:: ธรรมชาติของวัยรุ่น

ธรรมชาติของ “วัยรุ่น” (วุ่นอย่างไร...?)

ตามหลักจิตวิทยา เราแบ่งวัยรุ่นออกเป็น 3 ระยะ คือ
- วัยรุ่นตอนต้น (11-13 ปี)
- วัยรุ่นตอนกลาง (14-16 ปี)
- วัยรุ่นตอนปลาย (17-20 ปี)

ลักษณะของวัยรุ่นที่ผู้ใหญ่ควรเข้าใจ คือ: -
1. การปรับตัวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
แม้ว่า วัยรุ่นจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของตนเอง จากโรงเรียน จากแหล่งความรู้ต่างๆ แต่วัยรุ่นยังมีความกังวลอยู่ ความกังวลที่เกิดขึ้นมักเป็นความกังวล ในด้านความเหมือนและความไม่เหมือน ความแตกต่างและไม่แตกต่างไปจากกลุ่มเพื่อน ความกังวลเกี่ยวกับร่างกายของตนเองนั้น แม้วัยรุ่นจะมีความกังวลแต่จะไม่มากเท่ากับความกังวล ในเรื่องของความสมบูรณ์ของร่างกายว่าสมกับความเป็นหนุ่มสาวหรือไม่ นอกจากนี้ยังสนใจว่า การเปลี่ยนแปลงของร่างกายนั้นทำให้ตนเองมีความงดงามดีหรือไม่ดีอย่างไร

ดังนั้นอะไรที่เสริมให้หล่อ เสริมให้สวย เสริมให้ดูดี วัยรุ่นจะ ใฝ่ หามาใช้ ให้ตนเองรู้สึกสมบูรณ์ขึ้น เช่นหาวิธีแก้ปัญหาเรื่องสิว เรื่องหน้ามัน หน้าขาว เรื่องกลิ่นหอม เครื่องประดับต่างๆ

2. การแสวงหาบทบาททางเพศของตนเอง
เนื่องจากวัยรุ่นมีการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย และจิตใจ ประกอบกับความคิดด้านวัฒนธรรมยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ จึงทำให้วัยรุ่นคิดว่าตนเองมีพลัง มีศักยภาพ และโดยลักษณะของวัยรุ่น ทีมีแนวโน้มที่จะไม่เชื่อฟังคำแนะนำ ไม่คิดถึงเรื่องคุมกำเนิด ทำให้วัยรุ่นเข้าไปสู่เพศสัมพันธ์ หรือปัญหาต่างๆโดยที่ตนเองไม่ตั้งใจ



3. ความต้องการเป็นอิสระจากพ่อแม่และผู้ใหญ่
เพื่อพัฒนาไปสู่ภาวะเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น มีความรับผิดชอบตนเอง มีความต้องการได้รับความช่วยเหลือจากกลุ่มเพื่อนมากกว่าที่จะพึ่งผู้ปกครองหรือครูอาจารย์ จนทำให้พฤติกรรมที่แสดงออกมาเป็นแบบต่อต้านผู้ใหญ่ ทั้งๆ ที่ในใจของเขา ยังยอมรับฟัง ยังผูกพัน ยังต้องการและรู้สึกพึ่งพาผู้ใหญ่อยู่

4.อารมณ์ที่ผันแปรง่าย
วัยรุ่นจะมีอารมณ์ที่ผันแปรง่าย ขึ้นๆลงๆ มีลักษณะอารมณ์แบบที่เรียกว่า สองจิต สองใจ อ่อนไหวต่อแรงกระตุ้นทั้งจากสิ่งแวดล้อมภายนอก และการเปลี่ยนแปลงของภายในจิตใจเอง การควบคุมอารมณ์ยังไม่ดี ทำให้วัยรุ่นมีความกังวลง่าย โกรธง่าย หงุดหงิดง่าย โกรธเมื่อถูกล้อเลียน โกรธเมื่อถูกลงโทษที่ไม่เป็นธรรม โกรธเมื่อมีคนปฏิบัติกับเขาเหมือนเด็กๆ โกรธเมื่อทำกิจกรรมแล้วเกิดการล้มเหลว โกรธถ้าถูกขัดขวางจากผู้ปกครอง
วัยรุ่นมักมีความกังวลต่อการเรียน ต่อการปรากฏกายในที่สาธารณะ ต่อการสร้างสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ เมื่อวัยรุ่นโกรธ หรือหงุดหงิด อาจจะควบคุมอารมณ์ไม่ได้ อารมณ์รักในวัยรุ่นจะแตกต่างจากเด็ก เพราะเด็กจะรักและพึ่งพามารดา และบิดาของตนมาก
แต่ในวัยรุ่น ความรักของเขาจะเปลี่ยนจากรักมารดาและบิดา (ซึ่งจริงๆยังรักอยู่) ไปเป็นคนรักที่เขายกย่อง

5. ความอยากรู้อยากเห็น
เป็นอารมณ์ ที่เด่นชัดมากในวัยรุ่น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้วัยรุ่นเกิดการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องเพศ วัยรุ่นอยากรู้อยากเห็นมาก และประกอบกับมีความรู้สึกทางเพศไวมาก จึงทำให้วัยรุ่นหมกมุ่นเรื่องนี้ได้ง่าย

6. มีการพัฒนาทางสติปัญญามาก
วัยเด็กและวัยรุ่นเป็นวัยที่มีอัตราพัฒนาการและการเติบโตของสติปัญญามาก จึงเป็นวัยที่เหมาะจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ วัยรุ่นเป็นวัยที่มีความคิดนามธรรม มีเหตุผล และ ช่างคิด ช่างวิพากษ์วิจารณ์ วิเคราะห์ มีสายตายาวไกลขึ้น ทำให้มีโอกาสโต้แย้งผู้ใหญ่อยู่เรื่อยๆ
แต่อย่างไรก็ตาม วัยรุ่น ยังขาดประสบการณ์ ชีวิต ดังนั้นเขาต้องอาศัยการแนะแนว และแบบอย่างจากผู้ใหญ่อยู่อย่างต่อเนื่อง

7. การแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเอง
เพื่อนจะมีบทบาทสำคัญอย่างมาก วัยรุ่นจะตระหนัก ในความสำคัญของกลุ่มและของเพื่อน พยายามทำตนให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อน เข้าร่วมสังสรรค์กับกลุ่ม ต้องการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม การที่ผู้ใหญ่เข้าใจ ลักษณะของวัยรุ่นดังกล่าว จะทำให้ วัยรุ่น พัฒนาไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต