วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

:: ปัญหาความอ้วน

"โรคอ้วน"
โรคอ้วนเป็นโรคเรื้อรังที่บั่นทอนสุขภาพทั้งกายและใจ รวมทั้งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคต่างๆ มากมาย ได้แก่ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคข้อเสื่อม และ ปัญหาทางจิตใจ โรค อ้วน เกิดตั้งแต่ในวัยเด็ก ควรป้องกันโรคนี้ตั้งแต่ในวัยเด็ก และต้องรักษาตั้งแต่เพิ่มเริ่มอ้วน มิฉะนั้นจะกลายเป็นโรคเรื้อรัง รุนแรง รักษายาก มีอันตรายต่อชีวิต



สาเหตุของโรคอ้วน
ส่วนมากมีสาเหตุจากพฤติกรรม คือ กินมากไป หรือ ออกกำลังกายน้อยไป หรือทั้งสองอย่าง พันธุกรรมอาจมีส่วนทำให้อ้วนได้ ส่วนโรคอ้วนที่มีสาเหตุจากโรคบางอย่าง เช่นโรคไทรอยด์ โรคเนื้องอกในสมอง นั้นพบได้น้อย
การที่จะบอกว่าเด็ก เป็นโรคอ้วนหรือไม่ สามารถประเมินจาก การวัดน้ำหนักต่อส่วนสูง เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของ น้ำหนักของเด็กเพศเดียวกันที่มีส่วนสูงเท่ากัน , การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ที่คำนวณจาก น้ำหนักเป็นกิโลกรัมของเด็ก หารด้วย ส่วนสูงของเด็กเป็นเมตร2 ถ้ามากกว่าเปอร์เซนไทล์ ที่ 95 ถือว่าอ้วน

วิธีการรักษาโรคอ้วน ที่ปลอดภัย มี 3 ประการที่ควรใช้ร่วมกันคือ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ส่วนการใช้ยาและการผ่าตัด มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
1. การควบคุมอาหาร
- กินอาหารครบทุกหมู่ตามธงโภชนาการ แต่ลดอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและไขมันมาก คือ ข้าว แป้ง น้ำตาล ไขมัน เนย กะทิ ถั่วที่ให้ไขมันมาก เช่น ถั่วลิสง ไม่กินอาหารหวาน และเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันและหนัง ควรดื่มนม พร่องมันเนย หรือ นมไขมันต่ำรสจืด แทนนมวัวครบส่วน ดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำหวาน หรือน้ำอัดลม
- เพื่อให้ได้ใยอาหารมากขึ้น ควรกินข้าวกล้อง แทนข้าวขาว กินผักเป็นประจำทุกมือ กินผลไม้ที่ไม่หวานจัดแทนขนม
- กินอาหารมื้อหลัก 3 มื้อ อาหารว่าง 1-2 มื้อ ห้ามอดอาหารมื้อหลัก เพราะจะทำให้หิวจัดในมื้อถัดไป
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือมาก
2. การออกกำลังกาย
ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 ครั้งควรลดเวลาที่นั่งๆนอนๆ อยู่หน้าจอ เช่น การดูโทรทัศน์หรือเล่นคอมพิวเตอร์เหลือไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง
3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เป็นการร่วมมือกันระหว่างผู้ปกครอง , ผู้รักษา และตัวเด็ก มีหลักการดังนี้
- ลดปัจจัยที่กระตุ้นให้เด็กอยากกิน เช่น อาหารที่ล่อใจเด็ก , การนั่งโทรทัศน์พร้อมกับกินขนม
- การให้ความรู้ทางโภชนาการที่ถูกต้องกับเด็กและผู้ปกครอง
- ผู้ปกครองควรปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับวัยรุ่น
- ผู้ปกครองควร มีการกระตุ้นให้เด็กอยากลดน้ำหนักเช่น การให้ของรางวัล

ควรลดน้ำหนัก สัปดาห์ละ ไม่เกิน 0.5 กิโลกรัม ไม่ควรลดเร็วเกินไปเพราะจะเกิดอันตรายได้

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพตอนนี้ผมก็กำลัง เริ่มลดความอ้วน แล้วก็ดูแลสุขภาพไปด้วย